top of page
IENX53.jpg

หน่วยงานให้การรับรองอาคารประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม ตามเกณฑ์ TREES

 

Brand  

TGBI

 

Model

TGBI

 

Description

TREES หรือ เกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 5 เกณฑ์ ได้แก่ TREES-NC สำหรับอาคารขนาดใหญ่ ทั้งอาคารสร้างใหม่และอาคารปรับปรุงใหม่ TREES-NC/CS สำหรับอาคารขนาดใหญ่ประเภทให้เช่า ประเมินเฉพาะพื้นที่ส่วนกลางและกรอบอาคาร TREES-EB สำหรับอาคารที่ใช้งานมาแล้วอย่างน้อย 1 ปีและต้องการปรับเป็นอาคารเขียว TREES-PRE-NC สำหรับประเมินอาคารจากแบบก่อสร้าง เพื่อให้ได้รับโบนัส FAR จากข้อกำหนดผังเมืองกรุงเทพฯ TREES-HOME สำหรับอาคารพักอาศัย ทั้งบ้าน ทาวน์เฮาส์ และอาคารชุดพื้นที่ไม่เกิน 2,000 ตารางเมตร SOOK Standard หรือ มาตรฐานอาคารเป็นสุข ให้ความสำคัญกับสุขภาวะของผู้ใช้อาคาร คล้ายๆ กับเกณฑ์ WELL Building Standard แต่มีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับไทย มีกลุ่มเป้าหมายหลักคืออาคารชุดและอาคารสำนักงาน

 

Type of product or service

ตรวจประเมินอาคาร

 

Advantages of product

ประโยชน์ของการก่อสร้างอาคารตามแนวคิด "อาคารสีเขียว" แนวคิดการก่อสร้างอาคารสีเขียวนั้น มีข้อดีและประโยชน์หลายประการ ทั้งต่อสิ่งแวดล้อมและต่อผู้คนที่ใช้งานอาคาร ดังต่อไปนี้ อาคารสีเขียวได้รับการออกแบบมาให้ประหยัดพลังงานสูง โดยใช้เทคนิคต่างๆ เช่น ฉนวนที่เหมาะสม เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ และแหล่งพลังงานหมุนเวียน ซึ่งอาจส่งผลให้สามารถประหยัดค่าพลังงานสำหรับผู้อยู่อาศัยได้อย่างมาก เนื่องจากอาคารเหล่านี้ใช้พลังงานที่ไม่หมุนเวียนน้อยลง จึงมีส่วนช่วยในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นการลดปัญหาเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และส่งเสริมอนาคตที่ยั่งยืน อาคารสีเขียวให้ความสำคัญกับคุณภาพอากาศภายในอาคารที่ดีโดยใช้วัสดุที่เป็นพิษต่ำ ระบบระบายอากาศที่เหมาะสม และแสงธรรมชาติ สิ่งนี้สามารถนำไปสู่สภาพแวดล้อมในการใช้ชีวิตและการทำงานที่ดีต่อสุขภาพและสะดวกสบายยิ่งขึ้น อาคารสีเขียวรวมเอาอุปกรณ์และระบบที่ใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การเก็บน้ำฝนและการรีไซเคิลน้ำสีเทา ซึ่งจะช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำและลดความเครียดจากแหล่งน้ำในท้องถิ่น เนื่องจากอาคารสีเขียวมักจะรวมองค์ประกอบของการออกแบบทางชีวภาพ ซึ่งเชื่อมโยงผู้คนเข้ากับธรรมชาติ ซึ่งอาจส่งผลดีต่อสุขภาพจิต ประสิทธิภาพการทำงาน และความเป็นอยู่โดยรวมได้ แม้ว่าอาคารสีเขียวอาจต้องมีการลงทุนเริ่มแรกที่สูงขึ้น แต่การประหยัดต้นทุนในระยะยาวในแง่ของค่าพลังงานและค่าน้ำที่ลดลง รวมถึงค่าบำรุงรักษาและการดำเนินงานที่ลดลง ก็อาจมีมากกว่าค่าใช้จ่ายล่วงหน้า อาคารสีเขียวมีส่วนช่วยในการสร้างความยั่งยืน และความยืดหยุ่นโดยรวมของชุมชน ทำหน้าที่เป็นต้นแบบสำหรับแนวทางปฏิบัติในการก่อสร้าง ที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นนำหลักการอาคารสีเขียวมาใช้

 

Industries & Business targeted

อาคารสำนักงาน ของหน่วยงานหรือบริษัทต่างๆ ที่ต้องการให้อาคารเป็นอาคารประหยัดพลังงานแล้วรักษาสิ่งแวดล้อม

 

Brand’s Country of Origin

ไทย

 

Company name

มูลนิธิอาคารเขียวไทยและสถาบันอาคารเขียวไทย

 

Company profile

เมื่อราวกลางปี พ.ศ. 2551 ได้มีการรวมตัวของกลุ่มอาสาสมัครที่ประกอบด้วยสถาปนิกและวิศวกรจากสมาคมวิชาชีพสองแห่งคือ สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ และวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกันจัดตั้งหน่วยงานด้านอาคารเขียวของไทยขึ้น โดยองค์กรที่จัดตั้งขึ้นนี้มีเป้าหมายหลักคือ ต้องการพัฒนาองค์ความรู้และจัดทำมาตรฐานรวมทั้งหลักเกณฑ์อาคารเขียวของไทยขึ้นมาใช้เอง เพื่อนำมาใช้แทนเกณฑ์อาคารเขียวที่กำหนดมาจากประเทศมหาอำนาจ ลดความเสียเปรียบด้านการค้าและเศรษฐกิจของประเทศ อีกเป้าหมายหนึ่งคือต้องการสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนและสังคมไทยเรื่องการออกแบบ ก่อสร้าง และพัฒนาอาคารเขียวแบบยั่งยืน ส่งเสริมให้เกิดความรู้ความเข้าใจเรื่องอาคารเขียวที่ถูกต้องให้กับ สถาปนิก วิศวกร หน่วยงานรัฐบาล และประชาชนทั่วไป หลังจากการประชุมและทำงานร่วมกันของกลุ่มสถาปนิกและวิศวกรชุดนี้มาได้ระยะหนึ่ง คณะทำงานจึงตัดสินที่จะจัดตั้ง “สถาบันอาคารเขียวไทย” ขึ้น โดยในวันที่ 11 มีนาคม 2552 ตัวแทนจากสมาคมสถาปนิกสยามฯ และวิศวกรรมสถานฯ ได้ลงนามในข้อตกลงที่จะทำงานร่วมกันทำงานในเรื่องนี้ แนวทางการจัดตั้ง “สถาบันการอาคารเขียว” นั้นจะเริ่มโดยจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในรูปของ “มูลนิธิอาคารเขียวไทย” เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553 สาเหตุที่จดทะเบียนเป็นมูลนิธินั้นเพราะต้องการให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงานและเกิดความชัดเจนในรูปแบบขององค์กรที่ไม่แสวงหากำไร จากนั้นคณะกรรมการมูลนิธิฯจึงมีมติให้ตั้งหน่วยงานชื่อ “สถาบันการอาคารเขียว” ทำงานภายใต้มูลนิธิฯ โดยเป็นหน่วยงานอิสระไม่แสวงหากำไรแต่สามารถหารายได้เลี้ยงตัวเองได้จากการประเมินอาคารและจัดอบรม สัมมนา และกิจกรรมอื่น ๆข องสถาบันฯ นั่นเอง

 

Booth Number 

C10

IENX54.jpg

โครงการอบรมหลักสูตรผู้เชี่ยวชาญอาคารเขียว TREES-NC

 

Brand  

TGBI

 

Model

TGBI

 

Description

วัตถุประสงค์ของการจัดอบรม 1) เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้ทางวิชาชีพให้กับสถาปนิก วิศวกร ผู้รับเหมา เจ้าของอาคาร และผู้สนใจ ได้มี ความรู้ มีความเข้าใจในการออกแบบก่อสร้างอย่างไรถึงได้เป็นอาคารเขียว 2) เพื่อส่งเสริมเรื่องการออกแบบ ก่อสร้าง และพัฒนาอาคารเขียวแบบยั่งยืน เพื่อสังคมไทย 3) เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีคุณสมบัติเป็นผู้ประเมินอาคารโดยผ่านเกณฑ์การอบรม และผ่านการสอบ ตามเกณฑ์ TREES-NC และถือเป็นผู้เชี่ยวชาญอาคารเขียวหรือ TREES-A 4) เพื่อเป็นการพัฒนาบุคคลกรที่มีคุณภาพทัดเทียมกับต่างประเทศ โครงการอบรมหลักสูตร ผู้เชี่ยวชาญอาคารเขียวไทย TREES NC

 

Type of product or service

คอร์สอบรม

 

Advantages of product

สถาบันอาคารเขียวไทย จึงต้องการสร้างผู้เชี่ยวชาญอาคารเขียว TREES-A หรือ TREES ASSOCIATE ขึ้น กลุ่มผู้เชี่ยวชาญดังกล่าว จะมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนา อาคารในไทย และในอาเซียน ให้เป็นอาคารเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และอนุรักษ์พลังงานอย่างเป็นรูปธรรม

 

Industries & Business targeted

เพิ่มพูนองค์ความรู้ทางวิชาชีพให้กับสถาปนิก วิศวกร ผู้รับเหมา เจ้าของอาคาร และผู้สนใจ ได้มี ความรู้ มีความเข้าใจในการออกแบบก่อสร้างอย่างไรถึงได้เป็นอาคารเขียว

 

Brand’s Country of Origin

Thailand

 

Company name

มูลนิธิอาคารเขียวไทยและสถาบันอาคารเขียวไทย

 

Company profile

เมื่อราวกลางปี พ.ศ. 2551 ได้มีการรวมตัวของกลุ่มอาสาสมัครที่ประกอบด้วยสถาปนิกและวิศวกรจากสมาคมวิชาชีพสองแห่งคือ สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ และวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกันจัดตั้งหน่วยงานด้านอาคารเขียวของไทยขึ้น โดยองค์กรที่จัดตั้งขึ้นนี้มีเป้าหมายหลักคือ ต้องการพัฒนาองค์ความรู้และจัดทำมาตรฐานรวมทั้งหลักเกณฑ์อาคารเขียวของไทยขึ้นมาใช้เอง เพื่อนำมาใช้แทนเกณฑ์อาคารเขียวที่กำหนดมาจากประเทศมหาอำนาจ ลดความเสียเปรียบด้านการค้าและเศรษฐกิจของประเทศ อีกเป้าหมายหนึ่งคือต้องการสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนและสังคมไทยเรื่องการออกแบบ ก่อสร้าง และพัฒนาอาคารเขียวแบบยั่งยืน ส่งเสริมให้เกิดความรู้ความเข้าใจเรื่องอาคารเขียวที่ถูกต้องให้กับ สถาปนิก วิศวกร หน่วยงานรัฐบาล และประชาชนทั่วไป หลังจากการประชุมและทำงานร่วมกันของกลุ่มสถาปนิกและวิศวกรชุดนี้มาได้ระยะหนึ่ง คณะทำงานจึงตัดสินที่จะจัดตั้ง “สถาบันอาคารเขียวไทย” ขึ้น โดยในวันที่ 11 มีนาคม 2552 ตัวแทนจากสมาคมสถาปนิกสยามฯ และวิศวกรรมสถานฯ ได้ลงนามในข้อตกลงที่จะทำงานร่วมกันทำงานในเรื่องนี้ แนวทางการจัดตั้ง “สถาบันการอาคารเขียว” นั้นจะเริ่มโดยจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในรูปของ “มูลนิธิอาคารเขียวไทย” เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553 สาเหตุที่จดทะเบียนเป็นมูลนิธินั้นเพราะต้องการให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงานและเกิดความชัดเจนในรูปแบบขององค์กรที่ไม่แสวงหากำไร จากนั้นคณะกรรมการมูลนิธิฯจึงมีมติให้ตั้งหน่วยงานชื่อ “สถาบันการอาคารเขียว” ทำงานภายใต้มูลนิธิฯ โดยเป็นหน่วยงานอิสระไม่แสวงหากำไรแต่สามารถหารายได้เลี้ยงตัวเองได้จากการประเมินอาคารและจัดอบรม สัมมนา และกิจกรรมอื่น ๆข องสถาบันฯ นั่นเอง

 

Booth Number 

C10

bottom of page